Last updated: 30 ธ.ค. 2561 | 2466 จำนวนผู้เข้าชม |
องค์ประกอบของการต่อระบบสายดิน - กล้องวงจรปิดเชียงใหม่
สายต่อหลักดิน ตัวนำที่หลักดินกับตัวนำต่อลงดินของบริภัณฑ์ หรือตัวนำที่มีการต่อลงดินของวงจรบริภัณฑ์ประธาน หรือแหล่งจ่ายไฟของระบบจ่ายแยก เป็นสายตัวนำที่ต่อระหว่างหลักดินกับบัสนิวทรัล เป็นตัวนำทองแดง และต้องเป็นสายเส้นเดียวยาวต่อเนื่องตลอดไม่มีการตัดต่อ ถ้าเป็นบัสบาร์อนุญาตให้มีการต่อได้
สายที่มีการต่อลงดิน สายของวงจรไฟฟ้าที่ต่อถึงดิน การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในกรณีเกิดการลัดวงจร สายที่มีการต่อลงดินจะทำหน้าที่เป็นสายดินของอุปกรณ์ด้วย เพื่อนำกระแสลัดวงจรกลับไปยังแหล่งจ่ายไฟในระบบไฟฟ้า โดยทั่วไปจะเป็นสายนิวทรัลไม่จำเป็นเสมอไปอาจเป็นสายอื่นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน
สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตัวนำที่ใช้ต่อส่วนโลหะที่ไม่นำกระแสของบริภัณฑ์สายดิน ตัวนำที่ต่อจากบัสดินไปยังส่วนที่ห่อหุ้มที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้า
สายต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน ตัวนำที่ใช้ต่อระหว่างส่วนที่เป็นโลหะการต่อถึงกันทางไฟฟ้า สายต่อฝากลงดินต้องเป็นชนิดตัวนำทองแดง ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าตามที่กำหนดแต่ถ้าสายเฟสของตัวนำประธานมีขนาดใหญ่กว่าให้ใช้สายฝากขนาดไม่เล็กกว่าของตัวนำประธาน ในกรณีที่การต่อฝากระหว่างบัสนิวทรัลกับบัสดินของบริภัณฑ์ประธานสามารถต่อฝากหลักดินเข้ากับบัสดินที่มีการต่อฝากได้
หลักดิน ต่อระหว่างอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือวงจรกับดิน ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าลงดิน เพื่อให้กระแสไหลผ่านได้ง่ายและแรงดันของสายนิวทรัลเข้าใกล้ศูนย์มากที่สุด กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจะมีแรงดันไฟฟ้าเกิดขึ้นรอบ ๆ หลักดินโดยเฉพาะบริเวณผิวต้องทำให้ความหนาแน่นของกระแสใกล้กับหลักดินมีค่าต่ำสุด โดยใช้หลักดินเป็นแท่งยาวซึ่งให้ความต้านทานต่ำกว่าหลักดินที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม และสามารถลดความต้านทานได้โดยการเพิ่มจำนวนของหลักดินซึ่งขึ้นอยู่กับหลักดินที่ใช้ซึ่งหลักดินนั้นมีหลายประเภท เช่น แท่งกราวด์ หลักดินที่หุ้มด้วยคอนกรีต แท่งหรือสายเคเบิลฝังดิน กริด หรือแผ่นผัง เป็นต้น